By:
WIEGO
Date:
วิกฤตโควิด 19 รอบสองและข้อมูลเศรษฐกิจนอกระบบในกรุงเทพได้เปิดเผยให้เห็นว่าช่วงกลางปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเปิดประเทศรอบแรก (หลังการระบาดของโควิด 19) จนถึงกลางปี 2564 บรรดาลูกจ้างทำงานบ้าน ผู้ทำการผลิตที่บ้าน ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง หมอนวด ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และคนเก็บของเก่า ต่างมีสภาพชีวิตที่ย่ำแย่ลง เนื่องจากความรุนแรงของการระบาดรอบสามได้มาพร้อมกับกฎเกณฑ์และข้อจำกัดต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
โดยได้ปรากฏข้อค้นพบดังนี้:
- ทุกกลุ่มอาชีพ (ยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน) มีรายได้น้อยกว่าร้อยละ 40 ของรายได้เฉลี่ยที่เคยได้รับในช่วงก่อนเกิดโควิด 19 ผู้ทำการผลิตที่บ้านและหมอนวดซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ในช่วงกลางปี 2564 ทั้งสองกลุ่มมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ศูนย์บาท แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาวิจัยของวีโก (WIEGO) ก็พบอีกว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายลงในกรุงเทพฯ มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเมืองอื่น ๆ ซึ่งคนทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบได้มีการฟื้นฟูอยู่บ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงกลางปี 2563
- ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ12 ได้กล่าวถึงสภาวะอดอยากของกลุ่มผู้ใหญ่ในครอบครัว กล่าวคือ ในปี 2564 ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่ให้ข้อมูลได้ลดการบริโภคอาหารลง โดยงดบางมื้อบ้าง หรืออดทนกินอาหารที่ไม่มีความหลากหลายในแบบที่เคยชื่นชอบ
- ผู้ให้ข้อมูลให้ข้อมูลว่าวิกฤตเศรษฐกิจและสุขภาพ เป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิต ความเครียด ความกระวนกระวายใจ และภาวะซึมเศร้า ของพวกเขา
- ในขณะที่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในอัตราสูง ทั้งในช่วงปี 2563 และ 2564 แต่มีผู้ให้ข้อมูลเพียงร้อยละ 30 ได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงที่ทำการศึกษา
- ข้อค้นพบในหลายประการยืนยันว่า ในปี 2563 และ 2564 โครงการช่วยเหลือทางการเงินของประเทศไทยประสบความ สำเร็จในการเข้าถึงแรงงานนอกระบบ แม้ว่าโครงการดังกล่าวมิได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่แรงงานข้ามชาติ ผู้ให้ข้อมูลก็ยังกล่าวว่าการช่วยเหลือทางการเงินครั้งนี้มีประโยชน์ในการใช้ซื้ออาหารและของใช้จำเป็นพื้นฐาน แต่หลายคนก็กล่าวว่าเงินช่วยเหลือนี้ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายเร่งด่วนอื่นๆ และไม่ได้จัดให้เพื่อใช้เป็นทุนในการฟื้นฟูอาชีพ
- ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ20 กล่าวว่าได้รับเงินกู้จากรัฐ ถึงแม้เงินทุนเพื่อประกอบอาชีพเป็นสิ่งที่ต้องการยิ่ง แต่หลายคนก็กล่าวว่าพวกเขาเข้าไม่ถึงเงื่อนไขการเป็นผู้ที่สามารถกู้เงินตามโครงการเงินกู้ของรัฐได้
- ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 88 บอกว่าในช่วงกลางปี 2563 จนถึงกลางปี 2564 พวกเขาต้องรับมือกับสถานการณ์วิกฤต โดยการลดมาตรฐานการดำเนินชีวิตและใช้เงินออมที่มีอยู่จนหมด รวมถึงลดการบริโภคในรายการที่ไม่ใช่อาหาร (53%) กู้ยืมเงิน (51%) ลดการบริโภคอาหาร (47%) และใช้เงินออม (44%) ในช่วงปี 2563 และ 2564 การกู้ยืมเงินได้กลายเป็นเรื่องปกติมากกว่าการใช้เงินออม เพราะเงินออมทั้งหมดที่มีอยู่ได้ถูกใช้ไปจนหมดแล้ว
Region
Informal Economy Theme
Informal Economy Topic
Resource Type
Language
Related Pages
Related Publications
WIEGO Briefs
By
WIEGO Briefs
By
Rutendo Mudarikwa, Marlese von Broembsen
WIEGO Briefs
By
Books
By
WIEGO Briefs
By
Ankita Upreti Sibal
Related Blog Posts
By
Edwin Bett, WIEGO
By
Jenna Harvey
By
Federico Parra, Renata Farías